วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

หน่วยที่ 7
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

1.  แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                ในการทำงานต่างๆ เช่น นักศึกษาทำการบ้านหรือทำรายงานส่งอาจารย์  หรือพนักงานบริษัทเตรียมการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ  มักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้นๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่ายๆ เช่น ราคาสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น  แต่บางครั้งอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ต้องมีการวิเคราะห์ เช่น แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 ปี ซึ่งต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตประกอบด้วย ดังนั้นคำว่า ข้อมูลความรู้ในที่นี้  จะรวมหมายถึงตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน  และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและ/หรือจัดหมวดหมู่แล้วซึ่งเรียกว่า สารสนเทศ ตลอดจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีการวิเคราะห์ซึ่งควรจะเรียกได้ว่าความรู้ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ต่อไปนี้เราจะใช้คำว่าข้อมูลในความหมายกว้างที่รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ด้วย
การค้นหาข้อมูล
1.       เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
                                นักศึกษาได้รู้จักคำว่า เครือข่าย และได้ทราบว่าระบบโทรศัพท์เป็นเครือข่ายสื่อสารอีกชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่นำมาต่อเชื่อมกันสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เป็นเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในฐานะเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างที่นักศึกษาได้ศึกษา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกอย่างที่ต้องการใช้ในการทำงานจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้  เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ  ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง
1.1          อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่ง ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร  หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร  คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน  หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่  มีสาขามากน้อยเพียงใด  ตัวอย่างอินทราเน็ตขนาดใหญ่ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จำกัดซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก อินทราเน็ตประเภทนี้จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก  สามารถดูแลการดำเนินธุรกิจของสาขาต่าง ๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
1.2          เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)  เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ต  แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่  เครือข่ายของบริษัท  ปูนซีเมนต์ไทย  จำกัด  ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างต่างๆ เป็นสมาชิกของเครือข่ายด้วย  เพื่อให้ร้านค้าเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆ  จากบริษัทโดยสื่อสารผ่านเครือข่ายนี้
1.1          อินเทอร์เน็ต (Internet) ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของและเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้ (Private network)  แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ  ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมกับเครือข่ายสามารถต่อเชื่อมได้  เพียงแต่ปฏิบัติตามกติกาซึ่งมีคณะกรรมการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนด  อินเทอร์เน็ตจำเป็นแหล่งข้อมูลเปิดแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกที่มีข้อมูลสารพัดชนิด  ทั้งที่มีประโยชน์ เช่น ข่าวสาร และสารความรู้ต่าง ๆ และสิ่งที่เป็นพิษและเป็นภัย เช่น ภาพลามกอนาจารและข้อมูลกรรมวิถีการผลิตอาวุธร้ายแรงหรือยาเสพติด เป็นต้น ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตบ้างส่วนให้เปล่า บ้างส่วนเสียค่าสมาชิกถึงจะเข้าได้  นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตปัจจุบันยังเป็นแหล่งซื้อขายสินและบริการ  ซึ่งมีทั้งขายปลีกขายส่งและการประมูล การค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.2          รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวแล้ว เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกัน  ดังนั้น  รูปแบบของการนำเสนอของข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงอาจแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นสมาชิกในวงปิดอาจใช้รูปแบบและวิธีการของตัวเอง แต่ในกรณีเป็นเครือข่ายสาธารณะจะต้องใช้รูปแบบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานสากล สำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน  รูปแบบการนำเสนอข้อมูลและวิธีการเปลี่ยนข้อมูลที่แพร่หลายมากจนกลายเป็นมาตรฐานไปแล้วคือรูปของ WWW ซึ่งมีอิทธิพลสูงมาก ทำให้เครือข่ายเกือบทุกประเภทเปลี่ยนมาใช้ตามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ใช้มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว
2. การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 
                ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด (Key Word)  เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL  และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย  เพื่อช่วยให้ผู้คนหาสามารถตัดสินใจในเบื้องต้นว่าเว็บไซต์นั้นมีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจำเป็นจำนวนมาก บางครั้งเซิร์จเอ็นจิน จะพบข้อมูลข้อมูลนับพันนับหมื่นรายการ ซึ่งทำให้เสียเวลากลั่นกรองหาข้อมูลที่ต้องการจริงๆ เซิร์จเอ็นจิน บางตัวจะมีระบบค้นหาที่ละเอียดขึ้น เรียกว่า แอดวานซ์เชิร์จ(Advanced search หรือ Refined search) โดยให้ผู้ค้นหาสามารถระบุเงื่อนไขได้ เช่น หากจะค้นหาโดย ใช่คีย์เวิร์ด “e-commerce” อาจจะค้นพบเป็นหมื่นรายการ แต่ถ้าคีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand” อาจค้นพบเป็นร้อย และถ้าใช้คีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand AND NOT handicraft”ก็อาจค้นพบน้อยลงเหลือไม่กี่รายก็เป็นได้ วิถีการดังกล่าว  เรียกว่าการ การกรอง(Filter) ซึ่งอาศัยการตั้งเงื่อนไขเชื่อมโยงกันด้วยคำที่เป็น Boolean Operators ได้แก่คำว่า AND,OR,NOT ทำให้มีผลเท่ากับการเลือกเงื่อนไขแบบใช่ทั้งหมด ใช้บางส่วนหรือไม่ใช้บางเงื่อนไข วิธีจะพบโปรแกรมค้นหาส่วนมาก ผู้แต่งใช้โปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมอาจสับสน เพราะแต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการกำหนดการกำหนดให้พิมพ์เงื่อนไขต่างกัน เช่น บางโปรแกรมให้ใช้เครื่องหมายบวก(+) แทน AND แต่บางโปรแกรมอาจใช้เครื่องหมายเดียวกันแทน OR เป็นต้น ผู้ใช้จึงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละโปรแกรม

3. คำแนะนำในการใช้  Google
                                3.1 การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น  ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก  จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง  เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง
3.2  ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักการทำงานของ Google เพื่อการค้นหาชั้นสูง
                                                1. อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กตัวใหญ่มีผลไม่ต่างกัน โดย Google จะถือว่าอักษรตัวเล็ก (Lower case) ทั้งหมด
                                                2. คำว่า and มีอยู่แล้วโดยปริยาย เฉพาะ Google จะหาเฉพาะเว็บเพจที่มีคำครบทุกคำ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ and เพื่อเชื่อมระหว่างคำหลัก แต่ลำดับก่อนหลังของคำหลักจะให้ผลที่แตกต่างกัน
                                                3. คำสามัญประเภท a, an, the, where, how  จะถูกตัดทิ้งโดยอัตโนมัติ รวมทั้งตัวอักขระโดดๆ  เพราะคำพวกนี้ทำให้การค้นหาช้าลง และไม่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด  ในกรณีที่ต้องการให้ใช้คำสามัญคำใดในการค้นหาด้วย จะต้องนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายบวก ( + ) เช่น “Standard and Poor” ในกรณีหลังนี้ โปรแกรมค้นหาจะค้นหาตามวลีทีอยู่ภายในเครื่องหมายคำพูด
                                                4. การกำหนดเงื่อนไขไม่ใช่คำบางคำในการค้นหา  โดยนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) เช่น ต้องการหาเว็บเพจที่เกี่ยวกับ e-Commerce Thailand – handicraft
                                                5. การกำหนดให้ใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน (Synonym) ด้วย ให้นำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมาย tilde
                                                6. การเลือกคำหลักมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
                                                                - ลองใช้คำตรงๆ ก่อน เช่น ถ้าท่านต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Picasso ก็ให้ใส่คำว่า Picasso ลงไป
                                                                - แทนที่จะใช้คำว่า painters
                                                                - ใช้คำที่คิดว่าน่าจะมีอยู่ในเว็บไซต์ที่ต้องการหา เช่น Jumbo Jet ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินโดยสาร เป็นต้น
                                                                - ทำให้คำหลักมีความเจาะจงมากที่สุดที่จะเป็นไปได้เช่น Antiquelead soldier จะดีกว่า old metal toys
                                                7. รูปคำต่างกันที่มากจากรากศัพท์เดียวกันจะได้รับพิจารณาโดยอัตโนมัติ เช่น diet กับ dietary
                                                8. การค้นหาตามหมวดสาขา ( Category )  ในกรณีที่คำหลักมีความหมายได้หลายอย่าง และท่านไม่แน่จ่าจะทำให้เจาะจงอย่างไร ให้เข้าไปที่ Directory ของ Google ซึ่งอยู่ที่ directory แต่ถ้าท่านต้องการข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ยี่ห้อ Saturn ท่านจะใช้คำหลักเดียวกันนี้ค้นภายใต้ Automotive category
                                                9. Google มีหน้าเว็บพิเศษสำหรับช่วยให้สามารถทำการค้นหาชั้นสูงได้ง่ายขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องจดจำวิธีการพิมพ์เงื่อนไขแต่ใช้วิธีเลือกพิมพ์ข้อความลงไปในช่องที่เหมาะสมแทน ซึ่งสามารถค้นหาเป็นภาษาไทยได้
4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  
                เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address) หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล เช่น ไมโครซอฟต์เอาต์ลุก (Microsoft Outlook) หรือโปรแกรมเว็บเมล (Wed mail)  เป็นต้น โปรแกรมไมโครซอฟต์เอาต์ลุกปกติจะมากับชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ใช้สำหรับรับส่งอีเมลได้ทุกกรณี แต่ต้องมีการติดตั้ง (Set-up) ก่อนใช้จึงเป็นการไม่สะดวกนักหากผู้ใช้ต้องการจะไปรับส่งอีเมลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นนอกจากเครื่องที่ตนใช้เป็นประจำ  วิธีการรับส่งแบบเว็บเมลเป็นวิธีที่สะดวกกว่า  เพียงแต่ผู้ใช้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Host)  ของอีเมลแอดเดรสที่ตนใช้อยู่ และเลือกคลิกที่ปุ่ม e-mail หรือ Mail  โปรแกรมเว็บเมลซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นก็พร้อมที่จะทำงานทันที
5. ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
                นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 อารยธรรมของมนุษย์มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้        การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนานมากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
    ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ต่างกับห้องธรรมดา ตรงที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ เพียงแต่มี คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Sever) สำหรับเก็บข้อมูล และมีเครือข่าย (Network) ต่อเชื่อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Clients) ที่ให้บริการ ซึ่งอาจกระจายอยู่ตราที่ต่างๆ ก็ได้ เครือข่ายนั้นจะเป็นเครือข่ายส่วนตัว (Private Network หรือ Intranet) ที่ใช้ภายในองค์กรก็ได้ หรือจะเป็นเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต